เทคนิคการหางานดีๆทำ-ควรเรียกเงินเดือนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม?

คำถามนี้ คงเป็นที่คาใจของหลายคน โดยเฉพาะบัณฑิตใหม่ๆ เมื่อคุณยังไม่เคยทำงานมาก่อน ไม่แปลกหรอกที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับตัวเลขพวกนี้ แต่บางคนคงพอรู้มาบ้างจากรุ่นพี่ ญาติ เพื่อน หรือบริษัทต่างๆ ที่เข้ามาแนะนำในมหาวิทยาลัย

ฉันเชื่อ การที่คุณตัดสินใจสมัครงานสักงานหนึ่ง คุณน่าจะมีประมาณการตัวเลขนี้ไว้ในใจแล้วเพราะในสายวิชาชีพที่คุณจบมา มักมีการพูดถึงตัวเลขเหล่านี้อยู่เสมอเช่น รุ่นพี่คนนี้จบสังคมสงเคราะห์ ไปทำงานเลขานุการกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอบีได้เงินเดือน 10,000.-บาทหรือรุ่นพี่อีกคนหนึ่ง จบหนังสือพิมพ์ ไปทำงานนักข่าวสายการเมืองกับหนังสือพิมพ์กขได้เงินเดือน 15,000.-บาทเป็นต้น

ข้อมูลพวกนี้พอทำให้คุณมองเห็นภาพของอัตราค่าจ้างในตลาดแรงงานได้ระดับหนึ่ง อย่างน้อยเป็นกรอบให้คุณได้รู้และพอประมาณการตัวเลขที่คุณควรจะได้รับ ถ้าคุณได้ทำงานในตำแหน่งนั้น ขอบอกตรงนี้ว่า เป็นแค่ประมาณการที่ใกล้เคียงความเป็นจริงเท่านั้น เพราะมันมีโอกาสดิ้นได้……

อาการ ดิ้นได้ นี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ความต้องการของตลาด สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในขณะนั้นความสามารถอันมากมายที่อาจจะทำให้บริษัทต้องยอมทุ่มเงินซื้อเพื่อแย่งคุณมาจากบริษัทอื่นที่หมายตาคุณไว้เช่นกัน และเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย

บางคนนั้นจบมาจากคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกัน เกรดเฉลี่ยก็ไม่ห่างกันเยอะ ได้งานเลขาผู้บริหารเหมือนกันเพียงแต่คนละบริษัท คนหนึ่งได้รับเงินเดือน 8,000.- บาท แต่อีกคนกลับได้สูงถึง 15,000.-บาท ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้า 2 บริษัทที่ว่าหมายถึงบริษัทของคนไทยกับบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทใหญ่ที่มีพนักงานเป็นพันคน กับบริษัทเล็กๆ ที่มีคนงานไม่กี่สิบ

บริษัทใหญ่ๆ มักมีโครงสร้างเงินเดือนที่ชัดเจน หากมีการปรับฐานเงินเดือน จะส่งผลกระทบต่อพนักงานจำนวนมาก จึงทำให้เงินเดือนอยู่ในระดับเกณฑ์มาตรฐานของตลาดแรงงาน หรือถ้าจะต่างกันก็ไม่มากนัก

Read the rest of this entry »