เทคนิคการเปลี่ยนงานใหม่
ประเมินองค์กรที่ตนอยู่ในปัจจุบันต่ำไป ว่าไม่สามารถดูแลความก้าวหน้าในอาชีพได้ เท่ากับการก้าวกระโดดในอาชีพ จากองค์กรภายนอก
ใช่ ว่ามีแต่วงการลูกหนังเท่านั้น ที่มีการซื้อตัวนักเตะเก่งๆ ไปเข้าสังกัดในทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ในวงการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง ศิลปิน ดาราก็เปลี่ยนค่ายกันไปมา ในวงการธุรกิจคนทำงานก็เช่นกัน ยังคงมีสงครามแย่งชิงคนเก่งไปทำงานกับองค์กรต่างๆ เมื่อมีความต้องการคนเก่งในตลาดแรงงานสูง แน่นอนคนเก่งจึงสามารถตั้งราคาค่าตอบแทนของตนได้สูง และสามารถเปลี่ยนงานใหม่กันเป็นว่าเล่น
มี บริษัทที่ปรึกษาหลายแห่งได้ทำการสำรวจวิจัย เพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับปัจจัยที่คนเก่งใช้ในการพิจารณาเปลี่ยนงานใหม่ และอัตราความสำเร็จในการเปลี่ยนองค์กร ซึ่งพบว่าคนเก่ง ตัดสินใจผิดพลาดเป็นส่วนใหญ่ และอัตราความสำเร็จในการทำงานกับที่ใหม่นั้น อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ความผิดพลาดใหญ่ ๆ ในการเปลี่ยนย้ายงาน มีอยู่ 5 ประการ ดังนี้
1. ไม่ทำการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ในปัจจัยที่ใช้พิจารณาเปลี่ยนงาน เช่น ไม่ศึกษาสภาพการจ้างงานในตำแหน่งสำคัญๆ ในตลาดแรงงานของมืออาชีพ ไม่ทำการบ้านให้มากพอในการรู้จักองค์กรที่จะไปทำงานด้วย ไม่ค่อยใส่ใจจะลงลึกเรื่องความมั่นคงทางด้านการเงินของนายจ้าง มองข้ามหรืออาจให้ความสำคัญน้อยเรื่องวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรใหม่ และที่สำคัญไม่วิเคราะห์รายละเอียดของเนื้องาน และตำแหน่งงานที่จะไปทำให้ชัดเจน เมื่อไม่นำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาไตร่ตรองอย่างละเอียด ก็เป็นเหตุให้การไปทำงานกับที่ใหม่ไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีสมราคา จนตัวเองก็ขาดความมั่นใจ ท้ายสุดก็ต้องเปลี่ยนงานไปที่ใหม่อีกต่อๆ ไป
2. คำนึงถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ คน เก่งมักถูกทาบทามจากบริษัทจัดหางาน ด้วยการเสนอ Package ที่ดึงดูดใจ จริงอยู่ตอนที่คิดว่าจะเปลี่ยนงานนั้น ตั้งใจจะพิจารณาเรื่องชื่อเสียงองค์กร ความน่าสนใจและท้าทายของงาน ความสะดวกในการเดินทาง ฯลฯ แต่ครั้นพอจะตัดสินใจ เรื่องเงินกลายเป็นแรงจูงใจและให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง หลาย คนจึงทนความใจป้ำของนายจ้างคนใหม่ไม่ไหว ครั้นพอเข้ามาที่ใหม่แล้ว จึงเห็นชัดว่า มีความเสี่ยงหลายเรื่อง ซึ่งไม่ได้ไตร่ตรองมาก่อน
Read the rest of this entry »