การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
ความสำคัญ
1. บุคคลจะสามารถมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้นั้นจะต้องรู้จักตนเอง ผู้อื่น สังคม สภาพแวดล้อม จึงจะสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้อย่างมีความสุข
2. แนวคิดและหลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความเหมาะสมกับบุคคลอื่นๆ ต่อไป
3. การทำงานร่วมกันในองค์กรให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยดีนั้น ทุกคนต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจึงจะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้
4. การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายเพื่อผลผลิตสูงสุดนั้น บุคลากรในหน่วยงานต้องมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมมือกันทำงาน การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น และจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยความสุข
เนื้อหา
1. ความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์
2. ประโยชน์ องค์ประกอบและจุดมุ่งหมายของมนุษยสัมพันธ์แนวคิดและหลักมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
3. แนวคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
4. หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานหลักมนุษยสัมพันธ์ทั่วไป
5. หลักการรู้จักและเข้าใจตนเอง
6. หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลในการทำงาน
สาระสำคัญของเนื้อหา
คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
1. มีท่าทางทีดี (Handssome)
2. มีบุคลิกภาพดี (Personality)
3. มีความเป็นเพื่อน (Friendiness)
4. มีความอ่อนน้อม (Modesty)
5. มีน้ำใจช่วยเหลือ (Helpful)
6. ให้ความร่วมมือ (Cooperation)
7. มีความกรุณา (Kindness)
8. สร้างประโยชน์ (Contribution)
9. การสร้างสรรค์ (Constructive)
10. มีอารมณ์ดี (Good Emotion)
11. มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
13. มีความอดทน (Patient)
14. มีความขยัน (Diligent)
15. มีความพยายาม (Attempt)
16. มีปฎิภาณ (Intelligence) ฯลฯ
คุณลักษณะเฉพาะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
1. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
2. เต็มใจทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4. มีความเสียสละ
5. เรียนรู้และเข้าใจผู้อื่น
6. เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมกับคนอื่น
7. เสนอตัวช่วยเหลือการทำงาน
8. ให้คำแนะนำช่วยเหลือ
9. คบหาคนอื่น ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
10. แสดงน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
1. เอาใจใส่ในทุกข์สุข
2. มีความจริงใจ และมีความยุติธรรม
3. ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา
4. โอบอ้อมอารี
5. เป็นกันเอง
6. สร้างกิจกรรมในกลุ่มสัมพันธ์ ต่างๆ
7. ยกย่องให้เกียรติ ฯลฯ
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
1. ให้ความเคารพยกย่องสรรเสริญผู้บังคับบัญชาในโอกาสต่างๆ
2. ปฎิบัติงานตามคำสั่ง หรือที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความรู้ความสามารถให้บังเกิดผลดีที่สุด
3. เข้าพบผู้บังคับบัญชา เพื่อปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำในการทำงานให้เหมาะสมกับเวลา และโอกาส
4. อย่าโกรธหากผู้บังคับมีความคิดเห็นไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน
5. เรียนรู้นิสัยการทำงานของผู้บังคับบัญชาเพื่อศึกษาส่วนดี เพื่อนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ
6. มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส สร้างความเป็นมิตรกับบุคคลทุกคน อย่าก่อเรื่องกับคนอื่น จนต้องให้ผู้บังคับบัญชารำคาญ
7. ทำความเจริญก้าวหน้า มีความคิดริเริ่ม มีเหตุผล มีการตัดสินใจในการทำงานด้วยความเชื่อมั่น
8. สนใจที่จะศึกษาหาความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีกว่าปัจจุบัน
9. สร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้บังคับบัญชา อย่าบ่นถึงความยากลำบาการปฏิบัติงาน
10. ประเมินผลตนเองเป็นระยะๆ ทั้งในเรื่องความก้าวหน้าของงานในความยากลำบากในการปฏิบัติงาน
ข้อมูลอ้างอิงจาก
เขียนโดย ดร. อนันท์ งามสะอาด