เทคนิคการหางานดีๆทำ-10 คำถามสัมภาษณ์งานยอดฮิต

ลองมาทำความคุ้นเคยกับ 10 คำถามที่เรารวบรวมมาให้คุณเตรียมตัวเตรียมใจไว้จะได้รับมือกับสถานการณ์ นั้นๆได้ทัน มาดูกันเลยค่ะ

1.ไหนลองเล่าถึงตัวเองหน่อยสิ

คำ ถามนี้ไม่ต้องการคำตอบว่าคุณชอบสีอะไร ชอบทานอะไรเป็นชีวิตจิตใจหรอกนะคะ แต่มันหมายถึงว่า “คุณเป็นคนลักษณะไหน เหมาะกับงานนี้เพียงไร” นับว่าเป็นโอกาสทองที่คุณควรจะพูดถึงบุคลิก ชีวิต และคุณสมบัติที่เกี่ยวกับงานเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะไปสมัครงานในร้านหนังสือ แล้วคุณก็จบด้านสังคมศาสตร์ คุณอาจตอบคำถามนี้ว่า “ดิฉันชอบอ่านวรรณกรรม และความรู้ที่เรียนมา ก็ทำให้ดิฮฉันรู้จักเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงในสังคมทั้งในยุคก่อนและ ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แม้ดิฉันจะเป็นหนอนหนังสืออยู่บ้างแต่ก็มีอัธยาศัยดีและชอบพบปะผู้คนค่ะ”

2.ทำไมคุณถึงอยากออกจากงานที่ทำอยู่

ข้อ นี้ขอบอกว่าอย่าวิพากษ์วิจารณ์ที่ทำงานที่คุณทำอยู่ในเรื่องใดๆทั้งสิ้น อย่าพูดอะไรที่เป็นการทำร้ายตัวคุณเอง ฉะนั้นคุณควรพูดแต่งานที่ผ่านมาในแง่ดี และบอกว่าเหตุผลที่ต้องออกก็เพราะว่างานใหม่นี้เป็นอีกก้าวหนึ่ง ที่จะนำคุณไปสู่เป้าหมายในอนาคตในการเรียนรู้งานใหม่ๆ หรือคุณต้องการมุ่งไปสู่งานที่ท้าทายมากขึ้น

3.คุณคิดว่าคุณจะทำอะไรเพื่อบริษัทได้บ้าง (ในขณะที่คนอื่นเค้าทำไม่ได้)

มา ถึงตอนนี้ คุณก็พรีเซนต์ตัวเองอย่างสร้างสรรค์ และให้คำตอบในแง่ของการทำประโยชน์ให้บริษัท ลูกค้า และพนักงานอื่นๆด้วยคำตอบที่ว่า “ดิฉันสามารถเสนอไอเดียใหม่ๆ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาภาพพจน์ของบริษัท และเพิ่มศักยภาพของแผนกต้อนรับด้วยการใช้ความสามารถในการสื่อสารสร้างความ ประทับใจให้กับลูกค้าได้ค่ะ”

4.ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของคุณคืออะไร

คำ ถามนี้มักเป็นการบอกให้คุณรู้นัยๆว่า คุณกำลังมีข้อบกพร่องเฉพาะที่จำเป็นต่องานนี้ แต่คุณก็สามารถแก้ต่างโดยให้เขาไม่มีข้อสงสัยในตัวอีกต่อไปว่า “แม้จะไม่มีประสบการณ์ทางด้านงานนี้โดยตรง แต่ดิฉันก็เป็นคนเรียนรู้เร็วค่ะ” หรือจะตอบคำถามนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองว่า “ฉันทำงานบนโต๊ะรกๆไม่ค่อยได้ค่ะ และก็ชอบทำทุกอย่างให้สำเร็จไปด้วยความเพอร์เฟ็คเสมอ” เท่านี้ก็ฟังดูดีแล้ว

5.คุณมีปฏิกริยาอย่างไรต่อคำวิพากษ์วิจารณ์

วิธี การตอบที่ดีมักต้องเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพเสมอ การตอบแบบนามธรรมจะทำให้คุณดูไม่มีเหตุผลเพียงพอ รีบยกตัวอย่างในความผิดที่คุณเคยทำแล้วรีบเสริมว่าคุณได้เรียนรู้อะไรจาก ประสบการณ์ที่ผิดพลาดนั้นๆ เช่น คุณเคยถูกตำหนิจากเจ้านาย ที่เปลี่ยนประโยคคำพูดเธอในจดหมายโดยไม่ได้รับคำสั่ง และนั่นก็ทำให้คุณคิดได้ว่า

1.การใช้ความคิดริเริ่ม อาจไม่เหมาะในบางโอกาส
2.ถ้าหัวหน้ามอบหมายงานอะไรให้ หน้าที่ของเราคือต้องทำตามคำสั่ง
3.บางครั้งควรขอคำแนะนำก่อนทำอะไรเอง
สุดท้ายสรุปด้วยประโยคกินใจว่า “ดิฉันคิดว่า การวิจารณ์เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ ที่จะช่วยพัฒนา ศักยภาพในการทำงานของดิฉัน”

6.คุณจะว่าอย่างไรถ้าต้องทำงานล่วงเวลา

อย่าพึ่งสลัดการทำงานนั้น เพราะคิดว่าเราจะต้องทำงานหนักเกินไป วิธีที่จะตอบคำถามนี้ให้ดี คือถามให้แน่ใจก่อนตอบ เช่น

1.ต้องทำงานล่วงเวลามากเท่าไร ถึงจะประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่การงานนี้ได้
2.มีการจ่ายค่าล่วงเวลาหรือไม่
อย่างไรก็ควรตอบรับแบบไม่ผูกมัดไปก่อนว่า “ดิฉัน พร้อมจะทำงานนอกเวลาค่ะ เพื่อให้งานสำเร็จลุ ล่วง” ซึ่งพอได้รับเลือกเข้าทำงานแล้ว คุณอาจต่อรองใหม่ได้เช่น อาจจะเสนอเอางานกลับไปทำที่บ้าน หรือมาทำงานเช้ากว่าปกติเป็นต้น แต่ถ้าคุณแน่ใจว่า ไม่พร้อมจะถวายชีวิตให้กับงาน คงต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจนไปเลยว่า “ดิฉันไม่เกี่ยงเรื่องทำงานล่วงเวลาหรอกค่ะ แต่ก็เชื่อมั่นว่า การเดินทางสายกลางนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรักษาคุณภาพงานให้ดีได้อย่างคงเส้นคงวา”

7.คุณอยากไปถึงจุดไหนในอีก 10 ปีข้างหน้า

แน่ นอนบริษัททุกบริษัทย่อมอยากได้คนที่มีความทะเยอทะยาน เพื่อไปสู่เป้าหมายในแนวเดียวกับบริษัท เพื่อที่จะพัฒนางานของบริษัทด้วยเช่นเดียวกัน หากคุณตอบว่าอยากทำงานไปวันๆ บริษัทก็คงไม่ยอมลงทุนเลือกคุณเข้ามาทำงานเป็นแน่ ในทางกลับกัน หากคุณต้องไปทำงานกับบริษัทที่มีความจำกัดโอกาสในการเจริญก้าวหน้า คุณก็ควรตอบด้วนการปรับคำตอบให้ฟังดูไม่เป็นการฟังดูเหนือหรือด้อยกว่าความ สามารถหรือตัวงาน โดยพูดว่า “ดิฉันหวังว่างานนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ดิฉันได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จในสายอาชีพ” และอย่าพูดเด็ดขาดว่า วางแผนจะไปยุโรปในปีหน้า หรืออยากไปเป็นตลกอย่างโน้ต อุดมในเร็วๆวัน เพราะนั่นจะเป็นการแสดงถึงความไม่ตั้งใจจริงของคุณในหน้าที่การงานนี้

8.อะไรที่ทำให้คุณอยากทำงานที่นี่

คุณ ควรแสดงตัวว่าคุณศึกษาเรื่องราวของตัวบริษัทมาบ้าง อย่างน้อยก็รู้ว่าบริษัททำอะไร มีจุดเด่นตรงไหน (บุคลากรเด่น คุณภาพงานดี สาธารณประโยชน์เยี่ยม) และตลาดเป้าหมายของบริษัทคืออะไร แต่ถ้าคุณไม่มีข้อมูลอะไรเลย ก็ลองตอบด้วยประโยคนี้ว่า “ดิฉันมีความสนใจในตัวงาน (ไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับอะไร) และรู้สึกว่าบริษัทได้เปิดโอกาสให้ดิฉันได้พัฒนาในสายงานนี้ค่ะ”

9.คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่

ใน การประกาศรับสมัครงานบางแห่ง จะระบุเงินเดือนไว้อย่างชัดเจน แต่ถ้าจนจะจบการสัมภาษณ์แล้ว ยังไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องเงินเดือนเลย แสดงว่าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกต้อนให้จนมุม คุณต้องมั่นใจในความสามารถของตนเอง และลองสืบดูว่าคนอื่นๆที่มีความสามารถคล้ายกันได้เงินเดือนเท่าไหร่ในสายงาน นี้ แล้วเสนอเป็นระดับช่วงเงินเดือนจะดีกว่าระบุเป็นตัวเลขตายตัว เพราะจะทำให้คุณสามารถต่อรองเงินเดือนจากความสามารถเฉพาะตัวของคุณได้ ระวัง อย่าต่อรองเงินเดือนด้วยวิธีที่ไร้ไหวพริบ หรือไม่ประนีประนอมโดยเด็ดขาด ถ้าข้อเสนอที่ได้รับตรงกับความต้องการของคุณให้รีบตกลงรับทันที แต่ถ้ายังไม่แน่ใจ ให้ตอบว่า “ตกลง” ในแง่ของหลักการ แล้วขอเวลากลับมาคิด 2-3วัน ถ้าคุณตกลงรับข้อเสนอเป็นจำนวนเงินแน่นอนแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนข้อตกลงใหม่ เพราะจะเป็นการชี้ให้เห็นถึงความโลเลไม่มั่นคง หากต้องก้าวไปสู่อีกสายงานหนึ่งที่ต่างกันอย่างมากมาย คุณก็จำเป็นที่จะต้องยอมรับในเงินเดือนขั้นต่ำแล้วค่อยเริ่มไต่เต้าใหม่

10.คำถามสุดท้ายคุณมีอะไรจะถามไหม

ตัด คำตอบที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณเป็นคนไม่ฉลาดเอาเสียเลย ไม่ตั้งใจฟัง หรือไม่ก็ไม่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทมาเลย ฉะนั้นเพื่อให้เจ้านายเห็นว่าคุณเป็นคนใฝ่รู้ลองใช้คำถามนี้ดู

1.ตำแหน่งของดิฉันอยู่ในตำแหน่งใดในโครงสร้างของบริษัท
2.เวลาทำงานปกติคือเวลาใด
3.กรุณาบอกคร่าวๆถึงเป้าหมายของบริษัท
4.มีโอกาสเลื่อนขั้นในอีก 3ปีข้างหน้าหรือไม่

มาถึงขั้นนี้แล้วก็กลับไปเตรียมพร้อมรับกับการสัมภาษณ์งานตำแหน่งใหม่นี้ได้ จำ ไว้ว่ายิ่งถ้าคุณมีข้อมูล พร้อม อัธยาศัยดี มั่นใจ จริงใจและมีจินตนาการมากเท่าไร การสัมภาษณ์ของคุณก็จะยิ่งดูโดดเด่น และมีโอกาสเข้าวินมากขึ้นเท่านั้น

และที่สำคัญก็อย่าลืม ว่าคำสัมภาษณ์ทั้งหมดก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นตัวของตัวคุณเองด้วยนะ ก็เพื่อที่คุณจะได้งานที่ถูกใจและเหมาะสมกับคุณที่สุดไงล่ะ